The Brooker Group PCL

Binance Academy

Governance Tokens คือ อะไร

พลังจากโทเค็น รากฐานสำคัญของระบบการกระจายอำนาจ

28/09/2022

TL;DR

Governance Tokens คือ การให้สิทธิเพื่อโหวตในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการดำเนินงานต่างๆ บนโปรเจกต์บล็อกเชน เป็นวิธีดำเนินการกระจายอำนาจการตัดสินใจไปยังชุมชน (community) แนวคิดนี้จะช่วยจัดสรรผลประโยชน์ของผู้ถือโทเค็นให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินการโปรเจกต์

บทนำ

ในการดำเนินการของบริษัททั่วไปจะมีการวางระเบียบโดยคณะกรรมการหรือกลุ่มคนในลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์ สำหรับบริษัทขนาดกลางหรือขนาดใหญ่จะมีคณะกรรมการ หรือที่เรียกว่า “บอร์ด” ประมาณ 10 คน คนเหล่านี้จะมีอำนาจกำหนดทิศทางในการทำงานของบริษัท หรือ ตัดสินใจเรื่องการลงทุน หรือ กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ

Governance Tokens มีลักษณะแตกต่างจากการกำกับดูแลหน่วยงาน แต่เป็นลักษณะโดยทั่วไปที่พบได้ใน Decentralized Autonomous Organizations (DAOs) และ Decentralized Finance (DeFi) รูปแบบของ Governance Tokens เป็นโมเดลการทำงานในลักษณะของการกำกับดูแลที่เท่าเทียม กระจายอำนาจ และมีความโปร่งใส ตัวอย่างที่สามารถพบได้คือ จำนวนโทเค็นหนึ่งโทเค็นเท่ากับสิทธิการโหวตหนึ่งครั้ง ซึ่งโทเค็นได้ถูกออกแบบมาสำหรับชุมชนให้เป็นหนึ่งของกันและกันและเพื่อให้มั่นใจว่าโปรเจกต์บล็อกเชนสามารถเดินหน้าเพื่อพัฒนาต่อไปได้

รูปแบบความแตกต่างระหว่างการรวมศูนย์อำนาจ (Centralized) และ การกระจายอำนาจ (Decentralized)

ที่มาของภาพ : https://moralis.io/what-are-governance-tokens-full-guide/

Governance Tokens มีกระบวนการทำงานอย่างไร

Governance Tokens เรียกได้ว่าเป็นแกนสำคัญเพื่อกระจายอำนาจการบริหารในโปรเจกต์ Decentralized Autonomous Organizations (DAOs)  และ Decentralized Application (DApp) ที่มีการมอบรางวัลให้กับผู้ใช้งาน (active users) ที่มีความสม่ำเสมอและสนับสนุนชุมชน โดยสิ่งที่ตอบแทนกลับมาคือ ผู้ถือโทเค็นสามารถโหวตในโปรเจกต์สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าจะเกิดการพัฒนาที่ดี และการโหวตจะเกิดขึ้นบน Smart Contracts ที่ผลลัพธ์จะปรากฏโดยอัตโนมัติ

หนึ่งในโทเค็นที่เก่าแก่ที่สุดออกโดย MakerDAO บนเครือข่าย Ethereum-based DAO ที่สร้างฐานความแข็งแรงให้กับ Crypto-collateralized Stablecoin Dai (โปรเจกต์ MakerDAO โดยผู้ใช้งานสามารถใช้ Erc-20 Token หนึ่งๆ ตามที่ MakerDAO ยอมรับในการค้ำประกับมูลค่าเพื่อถอน DAI ออกมาซึ่งการเพิ่มลดเหรียญ DAI จะถูกควบคุมโดย Smart Contract ซึ่งถูกกำกับจากผู้ถือเหรียญ)

สำหรับ Maker Protocol ถูกควบคุมโดยผู้ถือโทเค็นที่กำกับดูแลที่เรียกว่า MKR โดย หนึ่ง MKR จะเท่ากับหนึ่งโหวต และ การโหวตสูงสุดจะได้รับการรับรอง นอกจากนี้ผู้ที่ถือโทเค็นสามารถโหวตในประเด็นที่หลากหลาย เช่น แต่งตั้งสมาชิกใหม่ ปรับค่าธรมเนียม และ การปรับแก้ไขกฎใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้

ตัวอย่างถัดมาของ “Compound” เป็น DeFi protocol ที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถกู้ยืมคริปโทเคอร์เรนซี โดยมี Governance token ชื่อ COMP ที่อนุญาตให้ชุมชนผู้ใช้งานโหวตในการตัดสินใจสำคัญๆ ทั้งนี้โทเค็นจะมีการจัดสรรตามสัดส่วนของกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนเชน กล่าวคือ ยิ่งมีการกู้ยืมบน Compound มากเท่าใด ยิ่งได้รับโทเค็น COMP มากขึ้นเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า Compound มีลักษณะคล้ายกับ MakerDAO คือ หนึ่ง Compound มีค่าเท่ากับหนึ่งโหวต และผู้ใช้งานสามารถมอบโทเค็นของตนเองให้กับผู้อื่นเพื่อลงคะแนนแทนกันได้ รวมถึง Compound สามารถยกเลิกการควบคุมผู้ดูแลระบบ หรือที่เรียกว่า admin key ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2020 หมายความว่าโครงการถูกควบคุมโดยผู้ถือโทเค็นโดยปราศจากการกำกับดูแลใดๆ มาทดแทน

Governance tokens อื่นๆ ที่มีความน่าสนใจ รวมถึงโทเค็นที่ออกโดย ธุรกิจแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ อย่าง Uniswap, PancakeSwap, Aave, ชุมชน NFT โดย ApeCoin DAO และ Decentraland โดยในแต่ละโปรเจกต์จะมีการกำหนดกฎเกณฑ์ของการใช้โทเค็นที่แตกต่างกัน

การแบ่งโทเค็นให้ผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงกลุ่มผู้ก่อตั้ง นักลงทุน และ ผู้ใช้งาน ต่างก็มีการคำนวณรูปแบบการถือครองโทเค็นที่แตกต่างกัน  ในบาง Governance tokens สามารถทำได้เพียงการโหวตในบางเรื่องเท่านั้น แต่บางแห่งก็สามารถนำมาใช้โหวตได้ในทุกๆกรณี รวมไปถึงโทเค็นที่มีลักษณะสร้างส่วนบ่างรายได้ด้วย ในแต่ละที่ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป

ข้อดีและความท้าทายของ Governance Tokens

Governance Tokens โดยตัวของมันเองมีประโยชน์เสมอ ข้อดีประการแรกคือ สามารถขจัดผลประโยชน์ที่ไม่ตรงเป้าหมายแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นในการปกครองแบบรวมศูนย์ ซึ่งการกำกับดูแลแบบกระจายอำนาจโดยการใช้งาน Governance Tokens จะเป็นการกำกับและถ่ายโอนอำนาจไปยังชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้างมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของผู้ใช้งานและองค์กร

ข้อดีถัดมา คือ ความสามารถในการสร้างชุมชนให้มีความกระตือรือร้นเกิดการร่วมมือซึ่งกันและกัน ที่ผู้ถือโทเค็นได้รับแรงจูงใจในการลงคะแนนเพื่อปรับปรุงโปรเจกต์ เนื่องจากโทเค็นหนึ่งโทเค็นส่วนมากแล้วมีค่าเท่ากับหนึ่งโหวต จึงสามารถวางรากฐานสำหรับการตัดสินใจที่มีความยุติกรรม ทั้งนี้ผู้ถือโทเค็นทุกคนสามารถเริ่มต้นยื่นข้อเสนอเพื่อโหวด และการโหวตยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เห็นเพื่อลดการทุจริต

ความท้าทายสำคัญของ Governance Tokens คือ “วาฬเจ้าปัญหา” (whales problem) กล่าวคือ วาฬในที่นี้คนที่ถือครองอัตราส่วนคริปโตจำนวนมาก  ถ้าหากวาฬที่ใหญ่ที่สุดในโครงการถือครองโทเค็นจำนวนมาก วาฬเหล่านั้นสามารถทำให้รูปแบบการโหวตนั้นแปรปรวนนำไปสู่ทิศที่วาฬต้องการ ทำให้แต่ละโปรเจกต์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่า Governance Tokens นั้นได้กระจายไปยังคนกลุ่มต่างๆ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

แม้ว่า Governance Tokens จะมีการกระจายอย่างยุติธรรมและทั่วถึง แต่ก็ไม่มีอะไรสามารถรับประกันได้ว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่นั้นดีที่สุดสำหรับโปรเจกต์ ซึ่งระบบการโหวตแบบหนึ่งต่อหนึ่งแม้จะมีประวัติในความยุติธรรมมาอย่างยาวนาน แต่ในกรณีของผู้ถือโทเค็นก็มีการโหวตเพื่อสร้างประโยชน์ให้สำหรับกลุ่มผู้ก่อตั้งและนักลงทุนรายใหญ่ซึ่งเป็นผลร้ายกับคนในชุมชนเป็นวงกว้าง

แนวคิด Governance Tokens ในอนาคตจะเป็นอย่างไร

ด้วยนวัตกรรมที่ถือกำเนิดคริปโตมานั้น Governance Tokens สามารถนำไปใช้งานได้ในวงกว้างและหลายภาคส่วน โดยเฉพาะในด้าน Web3 ที่ Governance Tokens ช่วยสร้างอินเตอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจ เนื่องจาก DeFi และ DAO ได้รับการผลักดันจากหลายอุตสากกรรม เช่น เกม ที่จะสามารถปรับใช้ให้เข้ากับรูปแบบของ Governance Tokens

Governance Tokens ยังสามารถพัฒนาต่อไปได้เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยกลไกใหม่ๆ เพื่อจัดการกับปัญหาวาฬ หรือ วิธีอื่นๆ เพื่อสร้างกระบวนการโหวตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการใหม่ๆ เหล่านี้ คือ การโหวตมีความจำเป็นจะต้องปรากฏตัว และ หาวิธีการทำให้การโหวตมีความซับซ้อนมากขึ้นไปพร้อมกับสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจะสร้างผลกระทบสำหรับอนาคตของ Governance Tokens คือ แนวโน้มที่กฎเกณฑ์ต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลง ในรัฐบาลบางแห่งอาจจะมีการพิจารณาว่าโทเค็นเหล่านั้นถือเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะทำให้ต้องมีการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เข้มงวดและอาจจะส่งผลต่อการดำเนินการ

บทส่งท้าย

Governance Tokens ยังคงอยู่ในช่วงระยะเริ่มต้นเป็นช่วงเวลาของการพัฒนา โดยมีสิ่งอำนวยประโยชน์จากการเติบโตของ DeFi และ DAO ที่แข็งแกร่งจำนวนมาก และด้วยอำนาจการโหวตสามารถกำหนดหรือจัดการโปรเจกต์ได้เป็นรากฐานที่สำคัญของระบบการกระจายอำนาจ

หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของโทเค็น คือ หนึ่งเสียงทำให้ผู้ใช้งานและชุมชนยังคงเป็นศูนย์กลางตราบเท่าที่โทเค็นมีกระจายอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกันในกลุ่มสมาชิก สำหรับอนาคต Governance Tokens ยังมีแนวโน้มที่เติบโต โดยเฉพาะในผู้ใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โปรเจกต์ Web3 และ เกม โดยสามารถนำแนวคิด Governance Tokens มาปรับใช้ได้เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สดใส

ที่มา : Binance Academy
What Are Governance Tokens?
https://academy.binance.com/en/articles/what-are-governance-tokens
แปลโดย Brook Digital Asset Team, 22 กันยายน 2022

ช่องทางติดตาม Brook Digital Asset