The Brooker Group PCL

Binance Academy

Blockchain Bridge คืออะไร และ สำคัญอย่างไร

18/08/2022

TL;DR

Blockchain Bridge คือ ข้อกำหนดในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างสองบล็อกเชนเพื่อให้ทั้งสองบล็อกเชนทำงานร่วมกันได้ ฟังก์ชันการทำงานเหมือนกับสะพานในชีวิตจริงที่เชื่อมเกาะทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน โดย Blockchain Bridge เรียกได้ว่าเป็นมาตรฐานการทำงานร่วมกัน ที่ทำให้สินทรัพย์ดิจิทัล ข้อมูล บนบล็อกเชนหนึ่งๆ สามารถเชื่อมต่อหรือทำงานกับอีกบล็อกเชนที่แตกต่างกันได้

ตัวอย่าง ถ้าหากมีการถือบิตคอยน์เอาไว้แต่ไม่สามารถนำใช้ทำธุรกรรมต่างๆ ใน DeFi ของ Ethereum ได้ ซึ่งตัว Blockchain Bridge จะเป็นเหมือนสะพานเชื่อมที่ทำให้ผู้ถือบิตคอยน์ไม่ต้องขายบิตคอยน์ ข้อดีทำให้แต่ละบล็อกเชนสามารถโยกย้ายสินทรัพย์ไปมาหากันได้สะดวก ส่งผลดีในระยะยาวทั้งเรื่องการเติบโต และ เรื่องความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability)

ทำไม Blockchain Bridge ถึงมีความสำคัญ?

ในด้านการทำงาน บล็อกเชนจะมีพื้นที่ หรือที่เรียกว่า Blockchain space สำหรับการพัฒนาและขยายตัว สิ่งหนึ่งเลยที่ยังคงเป็นข้อจำกัดคือ บล็อกเชนยังขาดสมรรถนะในการทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชน  ที่ผ่านมาแต่ละบล็อกเชนมีกฎ โทเค็น โปรโตคอล และ Smart Contracts ของตัวเอง ซึ่งการมี Blockchain Bridge จะช่วยทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของทุกบล็อกเชน มีระบบนิเวศ (Ecosystems) ร่วมกัน และ การเชื่อมต่อกันระหว่างบล็อกเชนจะสามารถทำให้โทเค็นและข้อมูลจากแต่ละเชนแลกเปลี่ยนได้อย่างราบรื่น

นอกเหนือจากความสามารถการโอนข้ามเชน (cross-chain transfers) ตัว Blockchain Bridge สามารถสร้างประโยชน์อื่นๆ คือ การอนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึง โปรโตคอล บนเชนอื่นๆ และ สามารถพัฒนาร่วมกับชุมชนนักพัฒนาเชนอื่นๆ หรือในแง่หนึ่ง Blockchain Bridge จะเป็นองค์ประกอบสำคัญของอนาคตที่สามารถทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมบล็อกเชนร่วมกัน

Blockchain Bridge ทำงานอย่างไร?

ลักษณะการทำงานของที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ของ Blockchain Bridge คือ การโอนโทเค็น  เช่น ถ้าหากคุณต้องการโอนบิตคอยน์ ไปยังเชน Ethereum วิธีการเดิม คือ การขายบิตคอยน์ จากนั้นซื้อเหรียญ ETH ซึ่งในการทำเช่นนี้ คุณจะต้องเสียอัตราค่าธรรมเนียมและต้องยอมรับกับความผันผวนของราคาที่คาดเดาไม่ได้

แต่ถ้าหากมีการใช้ Blockchain Bridge คุณจะไม่ต้องขายบิตคอยน์ แต่ตัวสะพานนี้จะทำให้บิตคอยน์เดินทางไปยังกระเป๋าเงิน Ethereum โดย Blockchain Bridge จะล็อคบิตคอยน์ไว้และสร้าง Wrapped BTC ที่เป็น ERC20 โทเค็นของ Ethereum เพื่อแสดงมูลค่าของบิตคอยน์บนเชน Ethereum ซึ่งจำนวนเงินของบิตคอยน์นั้นจะถูกล็อคไว้ด้วย smart contract และจะมีการสร้าง (Mint) โทเค็นที่ Peg มูลค่าเอาไว้

ตัวอย่างการ Bridge โดยใช้ OmniBridge เพื่อล็อกโทเค็น ERC20 บน Ethereum และมีการ Mint โทเค็นมูลค่าที่เท่ากันไว้บน xDai ที่เป็น Sidechain

ที่มาภาพ https://blog.makerdao.com/what-are-blockchain-bridges-and-why-are-they-important-for-defi/

Blockchain Bridge มีประโยชน์อย่างไร?

ประโยชน์สำคัญของ Blockchain Bridge คือ การเพิ่มสมรรถนะในการทำงานร่วมกันระหว่างบล็อกเชน ที่ทำให้แลกเปลี่ยนโทเค็น สินทรัพย์ และข้อมูลระหว่างเชนกันได้ ที่ทำได้ทั้งบน Layer 1 และ Layer 2  ยกตัวอย่าง สามารถใช้ Wrapped BTC ในระบบนิเวศของ Ethereum เชน ที่จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทั้ง dApps และ การให้บริการ DeFi ต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อได้เปรียบอื่นๆ อีกคือ การพัฒนาในการปรับขนาดของบล็อกเชน โดยจะทำให้บล็อกเชนสามารถทำธุรกรรมได้ครั้งละจำนวนมากๆ และยังพัฒนาประสิทธิภาพสูงขึ้นเพิ่มขึ้นอีกด้วย ตัวอย่าง Blockchain Bridge ระหว่าง Ethereum และ Polygon จะเป็นสะพานเชื่อมที่ทำให้เครือข่ายบน Ethereum สามารถปรับขนาดขยายตัวได้มากขึ้น และยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่จะสามารถทำธุรกรรมในแต่ละครั้งเร็วขึ้นและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำลง

และสุดท้าย Blockchain Bridge จะช่วยเพิ่มจำนวนโปรเจกต์ dApp ในเชนให้มีจำนวนมากขึ้นและสามารถทำงานบนบล็อกเชนที่แตกต่างกันได้

Blockchain Bridge มีความเสี่ยงหรือไม่?

Blockchain Bridge ยังคงมีข้อจำกัดบางประการ สำหรับผู้โจมตีอาจจะใช้จุดอ่อนบางจุดจาก Smart Contract จาก Blockchain Bridge ใช้การเข้ารหัสจำนวนมหาศาลไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อมุ่งร้ายการทำงานระหว่างเชน

ในส่วนของ Custodial bridges อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้ จากการที่ผู้ดูแล Bridge ใช้การควบคุมการทำงานในความพยายามขโมยเงินของผู้ใช้งาน ซึ่งในประเด็นนี้จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเลือกแบรนด์ ของ Custodial ที่มีประวัติการทำงานที่น่าเชื่อถือ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดทางเทคนิค โดยเฉพาะปัญหาคอขวดในการทำธุรกรรม ที่อาจจะเป็นตัวขัดขวางการทำงานร่วมกันระหว่างเชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

ในขณะที่ Bridge สามารถบรรเทาความแออัดในระบบเครือข่ายได้ แต่เมื่อมีการเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ไปยังเชนอื่นๆ ก็อาจจะยังไม่สามารถแก้ปัญหาการขยับขยายตัวของบล็อกเชนได้มากนัก หากผู้ใช้งานไม่ได้เปิดระบบใช้งานเข้าถึงระบบเดียวกับ dApps  ตัวอย่าง dApps บน Ethereum ที่ไม่เปิดการทำงานระหว่าง Polygon Bridge เป็นเพราะยังมีข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพการการรองรับการขยายตัวของบล็อกเชน

ความท้าทายของ Blockchain Bridge สำหรับอนาคตเป็นอย่างไร?

ในก่อนหน้านี้ ยุคของอินเตอร์เน็ตต่างเคยเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการทำงานร่วมกันมาก่อนเช่นกัน ซึ่งบล็อกเชนมีความสำคัญในการสร้างความสามารถการทำงานร่วมกันและเน้นทำให้เกิดการใช้งานสำหรับคนจำนวนมาก นักพัฒนาเล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องทำให้เกิดการใช้งานนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานเพื่อแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ระหว่างบล็อกเชน ซึ่งเมื่อมีการเปิดใช้งานแลกเปลี่ยนเช่นนี้ Blockchain Bridge จะมีการเพิ่มจำนวนขึ้น มีคนใช้งานเพิ่มขึ้น และทำให้จำนวนรวมในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน

สำหรับความต้องการของ Blockchain Bridge จะยังเติบโตมากขึ้นต่อยอดไปยัง Web3 ในอนาคตเป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่จะยิ่งช่วยทำให้ความสามารถในการขยายตัวและพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักพัฒนา นอกจากนี้ยังมีแนวทางอื่นๆ เพื่อจัดการกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยบน Blockchain Bridge รวมถึงการสร้างสามารถทำงานร่วมกัน เปิดกว้าง และ กระจายอำนาจได้ยังเป็นจุดเด่นของการทำงานอีกด้วย

บทส่งท้าย

การพัฒนาในอุตสาหกรรมบล็อกเชนนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งมีผู้ริเริ่มเครือข่ายแรกๆ อย่าง Bitcoin และ Ethereum รวมทั้งบล็อกเชนอื่นๆ อีกจำนวนมาก บน  Layer 1 และ Layer 2 ที่ทำให้เกิดการใช้งานเหรียญและโทเค็นต่างๆ อย่างมากมายตามมา         

ด้วยกฎเกณฑ์และเทคโนโลยีที่มีการใช้งานแยกออกจากัน ทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งานต่างก็ต้องการให้ระบบนิเวศในบล็อกเชนมีการทำงานเชื่อมต่อกันอย่างเหนียวแน่น เปิดโอกาสให้เกิดความสามารถในการขยายตัวและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามถึงจะมีการโจมตี Blockchain Bridge แต่นักพัฒนายังคงค้นคว้าการออกแบบ Blockchain Bridge ที่มีความปลอดภัยและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นต่อไป

ช่องทางติดตาม Brook Digital Asset